Translation provided by the Fund for Global Human Rights
ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งมุ่งมั่นจะเปิดเผยการคุกคามนั้น โดยธรรมชาติแล้วการสื่อสารไม่ได้เป็นไปในทางบวก แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนไม่สามารถยึดติดกับความกลัวและการย้อนกลับไปสู่ความมืดมนในอดีต ในทางตรงข้ามเราต้องมุ่งสู่อนาคตที่สดใสกว่าเดิม
ความหวังเป็นกลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์หรือการใช้ภาษาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์และบริบทต่างๆ โดยการเรียนรู้ผ่านประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร นักประสาทวิทยาศาสตร์การจัดการ และ ภาษาศาสตร์ปริชาน (ภาษาที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้และการคิด) ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับยุทธศาสตร์หรือการรณรงค์ใดก็ได้ ด้วยการวางรากฐานการสื่อสารของคุณที่มาจากค่านิยมที่คุณยึดมั่นและวิสัยทัศน์ของโลกที่คุณต้องการจะเห็น จึงทำให้การสื่อสารที่มาจากความหวังเป็นทางออกสำหรับการโต้แย้ง และเป็นการวางกรอบที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามของคุณด้วย ดังนั้นคุณจึงสามารถออกแบบการปฏิบัติการที่มีการกำหนดวาระมากกว่าจะแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อเหตุการณ์ภายนอก
กลวิธีการสื่อสารที่มาจากความหวัง ครอบคลุมการสร้างการปรับเปลี่ยนพื้นฐาน 5 ประการ ด้านการกล่าวถึงสิทธิมนุษยชน การจัดเตรียมแนวทางการสื่อสารที่มาจากความหวังนี้ได้รับความร่วมมือจาก โทมัส คูมซ์ Thomas Coombes (@the_hope_guy) เพื่อช่วยให้คุณได้นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานใดๆ ในชีวิตประจำวัน
การปรับเปลี่ยนที่ 1: พูดถึงทางออก แทนการพูดถึงปัญหา
ในขณะที่การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมักแสดงให้เห็นถึงการคุกคาม เราจึงจำเป็นต้องชี้ให้เห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาด้วย การสื่อสารทางบวกเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการจะเห็น ไม่เพียงแค่กล่าวถึงสิ่งที่คนอื่นกำลังกระทำอยู่เท่านั้น สำหรับผู้นำ การหาข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องจัดการกับการแก้ปัญหานั้นยากกว่าการอธิบายให้เห็นถึงความล้มเหลวในการดำเนินการแก้ไขปัญหามาก
อันตรายของการมุ่งความสนใจทั้งหมดไปกับวิกฤติอันย่ำแย่ที่สุด คือการที่ผู้คนเคยชินกับวิกฤตินั้น เมื่อเราเพ่งความสนใจไปที่ปัญหา เท่ากับเป็นการที่เรายิ่งสนับสนุนให้ปัญหานั้นยึดติดเข้าไปในจิตใจของ ผู้ฟัง หรือตามที่จอร์ช เลคอฟ (George Lakoff wrote) ได้ระบุไว้ว่า “คนเรามีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ และนำสิ่งใหม่นั้นมาใช้เป็นสิ่งยึดถืออ้างอิงใหม่”
ความรู้สึกว่าโลกอยู่ในภาวะวิกฤติจะเป็นตัวผลักดันให้ผู้คนอยู่ในมือของนักประชานิยมผู้หยิบยื่นความมั่นคงให้กับพวกเขา และหันกลับไปสู่อดีตแห่งอุดมคติในจินตนาการ
Caption: If companies can articulate their values and the world they want to see, why can't human rights groups?
เราต้องโน้มน้าวผู้คนให้เห็นว่าโลกอีกด้านหนึ่งมีความเป็นไปได้ แนวคิดที่มีวิสัยทัศน์จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลก โดยคนที่นำเสนอจะเป็นผู้กำหนดวาระแทนที่จะเป็นผู้ตั้งรับ ตัวอย่างเช่น การรณรงค์ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดให้ประชาชนประหยัดอย่างเข้มงวด มีแนวโน้มที่จะไม่ทำให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการแตกต่างออกไป นอกเสียจากว่าผู้รณรงค์จะนำเสนอทางเลือกที่ปฏิบัติได้จริง อาทิ การลงทุนภาครัฐให้มากขึ้นหรือการริเริ่มกระตุ้นความคิด เช่น การจัดสรรรายได้ขั้นพื้นฐานจากภาครัฐแก่ประชาชน
การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนไป สืบเนื่องจากเมื่อตระหนักว่าความเสียหายรุนแรงที่กำลังใกล้เข้ามานั้นก่อให้เกิดความสิ้นหวังท้อแท้แทนที่จะสร้างความรู้สึกถึงความเร่งด่วน หรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ปรับเปลี่ยนจากการรณรงค์ต่อต้านการเลือกปฏิบัติ มาเป็นเรื่องของค่านิยมร่วมกัน โดยมุ่งความสนใจไปกับทางออกด้านนโยบายวิธีหนึ่งจากหลายๆ วิธีที่มีความเป็นไปได้ อาทิ ความเสมอภาคในการสมรส ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวพันลึกซึ้งกับความรักและความเห็นอกเห็นใจกันที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ หากเราต้องการให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง เราต้องหยุดไม่เพียงแค่กล่าว “ไม่” กับปัญหา และหันมาเสนอบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้รัฐบาล “ตกลง” ด้วยการนำเสนอนโยบายที่มีความชัดเจน เช่น ทางออกด้านสิทธิมนุษยชนที่ชาญฉลาดอันจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย และแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการนั้นจะนำไปสู่ความสำเร็จใด แม้ภายใต้วิกฤติที่มืดมนที่สุด เรายังสามารถมุ่งความสนใจไปที่ก้าวแรกของการเดินไปสู่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้เสมอ
การดำเนินการ: หากคุณรู้สึกว่าปัญหาของคุณนั้นยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ ให้เปลี่ยนทัศนคติและมุมมอง คิดถึงการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่คุณสามารถคาดหวังได้อย่างสมเหตุสมผลที่สุด อันจะนำไปสู่ความสำเร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า ว่าจะทำอย่างไรให้บังเกิดผล? จะทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นด้วยวิธีการใด? มีที่ใดบ้างที่ประสบความสำเร็จแล้ว? โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทางใดหลังจากนั้น? แสดงให้ผู้ฟังเห็นทางเลือกที่เป็นไปได้ว่าโลกของเขาจะเป็นอย่างไร
การปรับเปลี่ยนที่ 2: มุ่งเน้นไปที่จุดยืน ไม่ใช่สิ่งที่ต่อต้าน
การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ประยุกต์ใช้ได้จริงอันเป็นค่านิยมร่วมกันที่เป็นสากล เช่น ความเห็นอกเห็นใจกันและกัน ความสามัคคี และความมีเกียรติ มากกว่าที่จะชี้ให้เห็นว่าสิทธิคือการปราศจากการล่วงละเมิด (ตัวอย่างเช่น “โลกที่ปราศจากการทรมาน”, “การป้องกันจากการทำร้าย”)
การนำเสนอการเคลื่อนไหวที่กำลังเป็นที่นิยมมากคือการชี้ให้เห็นว่า “เป็นสิ่งที่ไม่ใช่อาชญากรรม” เช่น การสื่อสารมวลชนไม่ใช่อาชญากรรม, ผู้ลี้ภัยไม่ใช่อาชญากร ลักษณะเช่นนี้เป็นการผสมผสานเแนวคิดระหว่างความผิดทางอาญาและสิทธิมนุษยชนในความคิดของผู้ฟัง รวมถึงเชิญชวนให้เกิดการถกเถียงว่าการสื่อสารมวลชนคืออาชญากรรมหรือไม่ จึงไม่แปลกใจที่การสำรวจ (surveys) มักแสดงให้เห็นถึงการที่คนคิดว่าสิทธิมนุษยชนเป็นการปกป้องอาชญากร (ตามที่ระบุไว้ในงานวิจัย IPSOS survey ปี 2561 ที่แสดงว่าเกือบ 40% ของทั่วโลกคิดเช่นนั้น) และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เป็นการสูญเสียโอกาสที่จะอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจถึงสิ่งที่สื่อมวลชนนำเสนอให้กับสังคม และโอกาสนำเสนอมาตรการสนับสนุนสื่อมวลชน
การเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มที่จะดำเนินการในรูปแบบเช่นนี้ เนื่องจากพวกเราเชื่อว่าการสร้างความตระหนักเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว โดยเพียงนำเสนอให้ผู้คนรับรู้ว่าสื่อมวลชนถูกปฏิบัติราวกับว่าพวกเขาเป็นอาชญากร แต่ลักษณะเช่นนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความโกรธและความอับอาย แทนที่เราจะกล่าวในทางที่เสียหาย เราต้องกล่าวถึงในแง่ดี เราจำเป็นต้องเรียกร้องให้เกิดสิ่งที่เราต้องการจะเห็น และอธิบายให้เห็นถึงค่านิยมร่วมที่เรามุ่งหมาย
เมื่อเรากล่าวถึงนโยบายที่เราต้องการ ให้อธิบายว่ารัฐบาลสามารถดำเนินการได้อย่างไร รวมถึงอธิบายว่าหากดำเนินนโยบายดังกล่าวจะสะท้อนค่านิยมใด เล่าถึงเรื่องราวที่สร้างมุมมองที่เรามีต่อโลก โดยไม่จำเป็นต้องจัดการโดยตรงกับประเด็นที่เราดำเนินการในทุกครั้งที่สื่อสาร
เมื่อองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนพูดถึงเรื่องค่านิยม พวกเขามีแนวโน้มที่จะหาเหตุผลให้กับสิทธิมนุษยชนภายใต้ค่านิยมแห่งชาติ แต่การมองหาสิ่งที่รวมคนให้เป็นหนึ่งเดียวสำหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น เราควรมองให้ไกลกว่ากรอบระดับชาติที่คับแคบนี้ “ชนชาติ” ส่วนมากเป็น “ชุมชนในจินตนาการ” (“imagined communities”) ที่มีศัตรูร่วมกัน อันเป็นสิ่งที่นักประชานิยมทุกวันนี้นำมาใช้หาผลประโยชน์ให้กับตนเอง สิทธิมนุษยชนนั้นแตกต่างจากสิทธิที่ได้มาจากการเป็นพลเมืองของประเทศ สิทธิมนุษยชนต้องการให้คนรู้สึกว่าตนและทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวมนุษยชาติเดียวกัน สิทธิมนุษยชนไม่ได้เกิดจากการมีศัตรูร่วมกัน เราต้องการกรอบที่มุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่รวมคนเข้าด้วยกัน ไม่ใช่สิ่งที่แยกคนออกจากกัน
ในคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนแบบใหม่ (new human rights messaging guidance) โดยอานัติ เชงเกอร์ - ออโซริโอ้ (Anat Shenker-Osorio) (warns) ระบุว่า “การสร้างให้เกิดเอกลักษณ์ของชาติ นำไปสู่ความคิด ‘พวกเรา/พวกเขา’ เป็นสิ่งแรก และทำให้ผู้ที่ตอบสนองต่อความคิดนี้เปิดกว้างยอมรับสิทธิของผู้อื่นได้น้อยลง” ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า “ในฐานะที่เราเป็น ชาวอินเดีย/ชาวยุโรป/ชาวคริสเตียน เราเชื่อในการปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความเท่าเทียมกัน” แต่อานัติเชิญชวนให้เราพูดว่า “ในฐานะที่เราเป็น ผู้ใส่ใจคนอื่น” คำว่า “เรา” แบบหลังนี้ที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นการปลูกฝังความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่าง มีความเป็นสากล คือความเป็นมนุษยชาติที่ร่วมกัน
หากการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนเป็นการหยุดพูดถึงกรอบความคิดของฝ่ายตรงข้ามแล้ว (เช่น ความมั่นคง เศรษฐกิจหรืออื่นๆ และผลประโยชน์ของชาติ) เราควรจะปรับเปลี่ยนไปสู่การกล่าวถึงในลักษณะใด? อะไรคือกรอบสิทธิมนุษยชนในอุดมคติ?
การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต้องการการอธิบายแบบใหม่ ปัจจุบันนี้เราดำเนินการแบบแยกส่วนหรือแยกประเด็นกัน แก้ไขปัญหาทีละประเด็นเพื่อผลดีเฉพาะกรณี จึงส่งผลให้ผู้ฟังจำนวนมากเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ปกป้องเรา หรือ “เป็นสิทธิของเรา” มากกว่าที่จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เราใช้สร้างเพื่อให้เกิดสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
เรามีแนวโน้มที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่เราต่อต้าน ไม่ใช่สิ่งที่เรามองหา ดังภาพตัวอย่าง การจับราวลูกกรงแสดงถึงความอยุติธรรม แต่ความยุติธรรมมีลักษณะอย่างไร?
เราควรพูดถึงสิ่งที่มีหรือเป็นร่วมกัน มุมมองโลกสากล และสังคมที่ผู้คนห่วงใยกันและกัน มุมมองของโลกร่วมกันที่เราสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งในจิตใจของสาธารณชน ในแต่ละวัน แต่ละเรื่องเล่า และแต่ละข้อความทวิตที่เราส่งต่อ
ถ้าเราไม่แสดงให้เห็นถึงโลกที่เราต้องการจะเห็น แล้วใครจะทำ?
การดำเนินการ: ใช้เทคนิคของอานัติ เชงเกอร์ - ออโซริโอ้ (Anat Shenker-Osorio) (messaging technique) คือ หาคำตอบโดยการเริ่มต้นด้วยค่านิยมร่วม จากนั้นกล่าวถึงปัญหาและหนทางแก้ไข สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น อธิบายเหตุผลว่าทำไมสิ่งนั้นจึงไม่เกิดขึ้น และภาครัฐควรนำค่านิยมร่วมมาประยุกต์ใช้อย่างไรหากมีการดำเนินการ และทำไมค่านิยมนั้นจึงสำคัญ
การปรับเปลี่ยนที่ 3: สร้างโอกาส หยุดสร้างความกลัว
เมื่อเราพูดถึงหนทางการแก้ไขปัญหา เราให้โอกาสคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น แทนที่จะใช้วิธีทำให้กลัวหรือความรู้สึกผิดเพื่อให้คนปฏิบัติ
เราจำเป็นต้องสะท้อนประสบการณ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เราต้องการสร้างและนำพาให้สังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมที่ดีขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าเวลาที่เราพูดถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน เรากลับใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง (language of conflict) อันนำไปสู่ความแตกแยก เราอยากให้คนมองเราว่าเป็นนักสู้ เป็นคนหัวรุนแรงและสร้างความแตกแยก ปกป้องผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย หรืออยากให้คนมองเราว่าเป็นผู้สร้างและก่อให้เกิดบางสิ่งบางอย่างสำหรับทุกคน?
เมื่อเราพูดถึงสิทธิมนุษยชนในแง่การปกป้องจากอันตราย สารที่เราสื่อเป็นนัยออกมานั้นอยู่บนพื้นฐานของความกลัวและผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งนั่นอาจเป็นสิทธิในรูปแบบของคุณ ลองจินตนาการดูว่าถ้าสิทธิของคุณถูกพรากไป วันใดวันหนึ่งอาจเป็นตัวคุณเองที่ประสบอันตรายแบบนั้น
แต่ยังมีหนทางอื่นอีก เราสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวเราให้ดีกว่านี้ได้ สิทธิมนุษยชนสามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันได้ สามารถให้โอกาสที่จะแสดงออกถึงความต้องการเป็นคนดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และช่วยเหลือผู้อื่น
ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จนั้นขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าและความหลงใหล ในขณะที่โดนัลด์ ทรัมพ์ ผนึกฐานเสียงของเขาด้วยการใช้หมวกแก๊ปเบสบอลสีแดงธรรมดา หรือคนทั่วไปที่ร่วมกันเรียกร้องสิทธิผู้หญิงโดยการต่อคิวหลายชั่วโมงเพื่อซื้อกระดุม “Together for Yes” ในประเทศไอร์แลนด์ (queued for hours to buy “Together for Yes” buttons in Ireland) หรือผู้คนที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นบนถนนหลายสายพร้อมกับสวมผ้าพันคอสีเขียวในประเทศอาร์เจนติน่า สัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการใดๆ ไม่ได้เป็นเพียงการระดมทุนหรือภาพลักษณ์ที่มีพลังเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความรู้สึกร่วมของการเป็นส่วนหนึ่งที่จะยกระดับไปสู่บางสิ่งบางอย่างที่เป็นประวัติศาสตร์ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถสร้างแรงศรัทธาและความหลงใหลยั่งยืนที่ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อผู้นำโดยผ่านความเกลียดชังและความน่ารังเกียจได้ แต่เราต้องยกย่องสิ่งที่เราเชื่อมั่น ดังตัวอย่าง การรณรงค์เรื่องไม่มีใครขวางกั้นเราได้ (Unstoppable) ขององค์กร Planned Parenthood ที่มีเนื้อหาเปี่ยมไปด้วยความสุขและแรงบันดาลใจ เนื้อหานี้ไม่เพียงแค่สร้างแรงบันดาลใจ แต่ยังเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกด้วย
การที่คนจะรับสารของเรานั้น พวกเขาต้องเห็นว่าเราเป็นผู้สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้หาทางออกที่สร้างสรรค์ และผู้ที่จะนำพาพวกเขาไปบนเส้นทางการแก้ไขมิใช่เป็นนักสู้ นอกจากนี้แล้วเรายังต้องให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาอยู่ในวัฒนธรรมที่มีการแบ่งแยกน้อย ด้วยการนำเสนอบรรยากาศของการร่วมมือกันและความเป็นชุมชน อันเป็นรากฐานในการสร้างอุดมคติเพื่อนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิทธิมนุษยชน
โดยแท้จริงแล้ว มีงานวิจัยระบุไว้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงข้อเท็จจริงว่า ความกลัวและการมองโลกในแง่ร้ายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมุมมองอนุรักษ์นิยมและความหวาดระแวง ในขณะที่ความหวังและการมองในแง่ดีมีแนวโน้มที่จะสร้างให้เกิดมุมมองเสรีและเปิดรับมากขึ้น ดังตัวอย่างที่กล่าวไว้ในงานวิจัยชิ้นใหม่ เรื่อง จากความหวัง ไม่ใช่ความเกลียดชัง (New research from Hope not Hate) ที่ระบุว่า
“เมื่อใดที่ผู้คนรู้สึกว่าสามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้ พวกเขามีแนวโน้มที่จะแสดงการต่อต้านสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วย และมีแนวโน้มที่จะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เชิงบวกต่อความหลากหลายและความแตกต่างทางวัฒนธรรม”
ในรายงานเรื่องเผ่าพันธุ์ที่ซ่อนอยู่ (Hidden Tribes) ปี 2561 ขององค์กรมอร์อินคอมมอน (More in Common ยืนยันว่ามุมมองของสื่อเน้นในเรื่องความขัดแย้งแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับเรื่องความสามัคคีในสังคม รายงานดังกล่าวแนะนำให้มองหาความเห็นร่วมกันเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกที่สื่อนำเสนอเรา โดยเราสามารถใช้เรื่องราวที่ผู้คนติดต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยความเคารพ ซึ่ง “เรื่องราวเหล่านั้นแสดงถึงความพิเศษของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในชุมชน ไม่ใช่การสร้างกำแพงต่อกันและกัน”
การดำเนินการ: พยายามจินตนาการถึงภาพ “ช่วงเวลาต่างๆ” ที่แสดงให้เห็นถึงโลกในรูปแบบที่เราอยากให้เกิดขึ้นจริง โดยนำค่านิยมของเราสร้างภาพให้เป็นจริงผ่านเรื่องราวอันน่าเชื่อถือของการที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยความเคารพ และแสดงให้เห็นว่าการเอาใจใส่ซึ่งกันและกันและความเป็นมนุษย์จะเป็นเช่นใด ในชีวิตประจำวัน
การปรับเปลี่ยนที่ 4: เน้นการสนับสนุนวีรชน ไม่ใช่การแสดงความสงสารต่อผู้เสียหาย
แทนที่จะชี้นำให้รู้สึกสงสารผู้เสียหาย ควรให้โอกาสคนได้อยู่เคียงข้างกับวีรชนและมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยแสดงให้เห็นว่ามีคนธรรมดาที่มีความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่น และกล้าหาญ เป็นพิเศษ รวมทั้งช่วยให้ผู้ฟังเชื่อมโยงกับบุคคล ไม่ใช่กลุ่ม (individuals, not groups), ด้วยการเน้นที่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงกับตนเองได้
หากเราต้องการให้ผู้คนมีความเห็นอกเห็นใจกัน เราต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคนอื่นก็มีความเห็นอกเห็นใจ การนำเสนอที่ชี้นำให้เกิดความกลัว ความสงสาร และความโกรธ อาจทำให้เกิดการลดทอนความเป็นมนุษย์โดยไม่ตั้งใจ หากมีนักการเมืองเรียกกลุ่มประชาชนว่าเป็นสัตว์ ลองคิดถึงภาพของคนเหล่านั้นอยู่ในกรงว่าเป็นการสนับสนุนการเปรียบเทียบเช่นนั้นหรือไม่? เมื่อเผชิญกับการเมืองที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ นักสิทธิมนุษยชนต้องทำทุกอย่างที่จะคืนความเป็นมนุษย์ของผู้คนกลับมา
การมุ่งทำให้การคืนความเป็นมนุษย์เป็นจุดหมาย เป็นการเปิดเส้นทางใหม่ทั้งหมดของการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความเป็นไปได้สำหรับการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนที่องค์กรต่างๆ จะนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ อันจะนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปรับปรุงด้านนโยบายได้เป็นอย่างมาก เราสามารถมุ่งไปที่การเล่าเรื่องทางบวกที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อคนที่เรากำลังพยายามช่วยเหลือ
งานวิจัยในประเทศอิตาลี research in Italy ขององค์กรมอร์อินคอมมอนแสดงให้เห็นว่า นอกจากความกลัวต่อผู้อพยพแล้ว ยังเป็นเรื่องของความรู้สึกสามัคคีและการรังเกียจผู้อพยพเนื่องจากการเหยียดเชื้อชาติอีกด้วย โดยงานวิจัยได้อภิปรายถึงความต้องการที่จะเสริมสร้างค่านิยมด้านการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเห็นอกเห็นใจกัน ตลอดจนแสดงถึง “เรื่องราวในโลกแห่งความเป็นจริงของการผสมผสานผู้อพยพกับชีวิตวัฒนธรรมอิตาลีในด้านต่างๆ เช่น ภาษา กีฬา อาหาร กิจกรรมชุมชน และ ความบันเทิง”
เราสามารถใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งนี้เป็นพื้นฐานของเนื้อหาที่เราจะเล่าเรื่องราวความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้ฟังเฉพาะกลุ่มตามค่านิยมและความสนใจของผู้ฟัง ดังเช่น องค์กรพัฒนาเอกชนของสวิสเซอร์แลนด์ได้นำเสนอโฆษณายูทูปแนะนำผู้ลี้ภัยให้ประชาชนก่อนที่พวกเขาจะได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับการเหยียดผิว (like the Swiss NGO that served up YouTube ads introducing refugees)
ผู้ฟังจำนวนมากมีค่านิยมของตนที่จะเหมารวม “ผู้อื่น” ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงด้วยการฟังเรื่องราวของผู้อื่น แต่จากแนวทางสำหรับผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงเฮิร์ตเวียร์ด (HeartWired) ที่เขียนโดยนักยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร เอมี่ ไซมอน และ โรเบิร์ต เพอร์เรส (Amy Simon and Robert Perez) กล่าวไว้ว่า เราสามารถเปิดโอกาสให้เขาเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการแสดงให้พวกเขาเห็นว่ามีคนประเภทเดียวกันกับเขาที่มีปฏิสัมพันธ์กับ “ผู้อื่น” และ เปลี่ยนแปลงความคิดของพวกเขา
แนวทางของเฮิร์ตเวียร์ดมุ่งประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดจะนำเสนอเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวแบบใหม่สำหรับนักสื่อสารด้านสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งไปที่การรณรงค์อันจะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนทัศนคติระยะยาวที่มีต่อคนกลุ่มอื่น
คนที่เปลี่ยนความคิดและตัดสินใจที่จะช่วยเหลือและสนับสนุน ก็ถือว่าเป็นวีรชนเช่นกัน ดังตัวอย่างการโฆษณาที่มีพลังเรื่องความเสมอภาคของการสมรสในประเทศไอร์แลนด์ โดยวีรชน ได้แก่ผู้ปกครองผู้เคารพจารีตประเพณีดั้งเดิมที่สนับสนุนบุตรของตน
เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องราวของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงนำเสนอภาพของโลกที่เราต้องการจะเห็น
โดยในทางปฏิบัติแล้ว นี่หมายถึงการสร้างช่วงเวลาสำคัญในสังคมออนไลน์บนพื้นฐานของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน ซึ่งองค์กรต่างๆ สามารถนำมาจัดทำเป็นชุดด้วยการตัดต่อเรื่องราวหลักที่เราต้องการนำเสนอประกอบกับภาพต่างๆ แล้วส่งให้กับหน่วยงานข่าวดิจิทัล เช่น AJ+ (เอเจพลัส ภายใต้สำนักข่าวอัลจาซีร่า) และ NowThis News (นาวดิสนิวส์) โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการเล่าเรื่องแบบ “พวกเรา ต่อสู้กับ พวกเขา” มาเป็น ความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ ตัวอย่างเช่น เอเย่นต์การท่องเที่ยวของเดนมาร์คใช้ดีเอ็นเอแสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มหนึ่งมีอะไรที่เหมือนกันมากเพียงใด (used DNA) ไฮเนเก้นขอให้คนที่มีความแตกต่างกันอย่างมากร่วมสร้างเคาน์เตอร์บาร์ร่วมกัน (to build a bar together) และ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศโปแลนด์ที่ขอให้ผู้ลี้ภัยกับชาวยุโรปมองตากันเป็นเวลา 4 นาที (Amnesty International Poland)
พวกเราอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่ปรารถนาจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่สื่อที่ขับเคลื่อนด้วยวิกฤติและความขัดแย้งนั้น เล่าเรื่องและสะท้อนภาพแตกต่างออกไป เราจำเป็นต้องเล่าเรื่องราวที่จะส่งเสริมโลกทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชน ที่คนเราดูแลใส่ใจซึ่งกันและกัน รวมถึงยืนหยัดเพื่อสิทธิของผู้คนที่อยู่ไกลออกไปเพราะพวกเขาล้วนคือมนุษย์
เหนือสิ่งอื่นใด เราจำเป็นต้องเล่าเรื่องราวของมนุษยชาติและความเห็นอกเห็นใจต่อกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมความคิดที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของผู้คนที่ยืนหยัดเพื่อกันและกัน เราต้องการเรื่องราวที่รวมมนุษยชนให้เข้าไปอยู่ในสิทธิมนุษยชน
การดำเนินการ: เล่าเรื่องราวโดยเปลี่ยนแปลงวิธีการเล่าเรื่อง พร้อมแทรกเรื่องราวเหล่านั้นในการอภิปรายสาธารณะ ในทางปฏิบัตินี่เป็นวิธีการสร้างสรรค์เนื้อหาที่ทำให้เห็นภาพที่เป็นจริง และเป็นการนำเสนอข่าวสารให้กับสื่อและผู้มีอิทธิพล เพื่อสร้างความสนใจด้วยการ “บอกเล่าปากต่อปาก” ตัวอย่างเช่น อาจเป็นเรื่องราวที่เป็นประเด็นใหญ่ของวันโดยนำเสนอด้วยมุมมองใหม่ที่มีความหวังมากขึ้นและยกตัวอย่างให้เห็นถึงบทบาทของคนทั่วไปที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
การปรับเปลี่ยนที่ 5: แสดงให้เห็นว่า “เราจัดการได้”
นักยุทธศาสตร์การเมือง มาร์ค แม็คคินนอน (Political strategist Mark McKinnon says) กล่าวว่าการรณรงค์ทุกอย่างมีลักษณะของการบรรยายเล่าเรื่องที่เป็นแบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้คือ ความหวัง ความกลัว ภัยคุกคาม หรือ โอกาส เราจะพูดถึงความหวังและโอกาสได้อย่างไรในขณะที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกำลังถูกโจมตีหรือทำร้ายและเราจำเป็นต้องปกป้องตัวเอง หรือว่าเราควรต่อสู้กลับ?
เราต้องหยุดพูดถึงสิทธิมนุษยชนที่อยู่ภายใต้การถูกรุกราน ซึ่งทำให้เราดูเหมือนเป็นสาเหตุของการสูญเสีย จะมีใครต้องการขึ้นรถไฟขบวนที่กำลังเดินทางไปผิดเส้นทาง ?
เราจุดเทียนเมื่ออยู่ในความมืด และเราต้องการสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในยามที่สิทธิมนุษยชนถูกริดรอน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน “ทำงานด่านหน้ามาเป็นเวลายาวนาน” แต่การใช้กรอบของวิกฤตและภัยอันตรายสามารถทำลายความคิดความเข้าใจเรื่องประสิทธิผลของขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้โดยไม่ตั้งใจ ดังที่แคทธารีน ซิกกิงค์ (Kathryn Sikkink)ได้โต้แย้งไว้
คนเราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของอะไรก็ตามที่ประสบความสำเร็จ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศฝรั่งเศสกำลังรณรงค์เรื่อง “ชัยชนะอันน่าตื่นเต้น” เพื่อเชื่อมโยงคำว่า “สิทธิมนุษยชน” เข้ากับ “ชัยชนะ” แทนที่จะเป็น “ปัญหา” หรือ “การละเมิด”
การศึกษาที่ริเริ่มสำรวจภาษาทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยอานัติ เชงเกอร์ ออโซริโอ้ ได้กระตุ้นให้เห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนแสดงออกถึงความมั่นใจแบบเงียบๆ
“ในขณะที่กลุ่มชาตินิยมผิวขาวเสนอคำอธิบายว่าหากโลกดำเนินไปในลักษณะที่ควบคุมไม่ได้ จะเป็นเช่นไรและควรมีทางออกลักษณะใด ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนมักนำเสนอโครงเรื่องที่ทำให้เห็นภาพสะท้อนความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องดำเนินต่อไปและต้องเร่งให้เกิดขึ้น แม้ว่ากระบวนทัศน์ในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มาจากหลายหนทางจะเป็นเรื่องของความเป็นระเบียบเรียบร้อยและผลลัพธ์อันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป แต่ความรู้สึกในลักษณะว่า “เราจัดการได้” หรือการแสดงให้เห็นความมั่นคง เชื่อถือได้ และเป็นสภาวะปกติ มักจะไม่ค่อยเห็นจากขบวนการสิทธิมนุษยชน”
เพื่อแสดงให้เห็นว่า “เราจัดการได้” เราต้องแสดงให้เห็นถึงสิทธิมนุษยชนที่ปฏิบัติได้จริงให้มากขึ้น ว่าแท้จริงแล้วการปฏิบัติให้สิทธิมนุษยชนเป็นจริงขึ้นมาหมายถึงอะไร และ มีลักษณะอย่างไร? เราอยากให้คนมีภาพในความคิดเช่นไรเมื่อพวกเขานึกถึงสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับบางคนอาจเข้าใจว่า เป็นเรื่องของการประท้วง การเรียกร้องไปยังนักการเมือง และการเขียนจดหมายถึงนักโทษทางการเมือง ในขณะที่บางคนอาจเข้าใจว่าคือการที่ผู้คนมารวมตัวกันในกิจกรรมของชุมชนหรือกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ
ไม่ว่าความเข้าใจจะเป็นเช่นไร กิจกรรมต่างๆ ที่ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินการนั้นจำเป็นต้องเล่าเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลง และแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิดหรือได้รับมาจากรัฐบาลโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย แต่เป็นสิ่งที่เราต้องลงมือทำให้มีเครื่องมือที่ทำให้สังคมของเราดีขึ้น หรือเป็นวิถีการใช้ชีวิตร่วมกัน การอธิบายสิทธิมนุษยชนว่าคือการกระทำช่วยชี้ให้เห็นว่าเราต้องสร้างทางเลือกต่างๆ ที่จะปลูกฝังและช่วยให้ผู้คนพัฒนาความเข้าใจเรื่องนี้อยู่เสมอ
นอกจากนั้นแล้ว เราต้องเปลี่ยนความคาดหวังและการเชื่อมโยงกับคำว่า “สิทธิมนุษยชน” ด้วยการอธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่าเป็น “เครื่องมือ” ซึ่งอยู่ในมือของคนธรรมดาทั่วไปที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยของอานัติ เชงเกอร์ ออโซริโอ้ นำเสนอวิธีการหลายวิธีเพื่อใช้ตรวจสอบเพิ่มเติม อาทิ สิทธิมนุษยชนคือเกราะกำบังหรือนโยบายการประกันที่ป้องกันคนจากอันตราย สิทธิมนุษยชนเป็นแผนที่หรือเข็มทิศที่จะนำทางเราไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง หรือ สิทธิมนุษยชนเป็นเชือกหรือกาวที่เชื่อมพวกเราเข้าไว้ด้วยกันด้วยความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน การคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในแนวทางนี้ ไม่เพียงแต่สามารถให้ข้อมูลที่เราต้องการส่งสารออกไปได้เท่านั้น แต่ยังสามารถปฏิวัติแนวทางที่เราผู้ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนรวมทั้งองค์กรอื่นๆ ใช้ดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกิจอีกด้วย
การดำเนินการ: ลองพิจารณาคำถามต่างๆ เหล่านี้ แล้วตัดสินใจ และอธิบายหรือบรรยายภาพที่คุณต้องการให้คนทั่วไปมีอยู่ในความคิดเมื่อพวกเขานึกถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนของคุณและองค์กรของคุณ เช่น โลกที่คุณอยากเห็นเป็นอย่างไร? เมื่อคุณพูดถึงสิ่งที่คุณทำในแต่ละวัน คุณใช้คำกริยาคำไหนบ้าง? มีการเปรียบเทียบการทำงานนั้นกับอะไรไหม? หากการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนของคุณเป็นเครื่องมือที่คนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ คุณสามารถทำให้เห็นภาพเครื่องมือนั้นได้ไหม?
ยังมีความหวังสำหรับสิทธิมนุษยชน ผู้คนแบ่งปันค่านิยมของเราและต้องการทำในสิ่งที่ถูกต้อง เราเพียงแค่ต้องยกระดับการกระตุ้นค่านิยม และพูดคุยกับคนทั่วไปเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านั้น
การปรับเปลี่ยนเหล่านี้อาจดูไม่เป็นธรรมชาตินักสำหรับหลายคนที่อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน แต่มีข้อพิสูจน์แสดงให้เห็นว่าเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ชัยชนะ อีกทั้งสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญมาก ดังนั้นเราจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
ข้อสังเกตและข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติ
- ศึกษาข้อมูลจากรายละเอียดในลิงค์นี้ (this checklist) เพื่อนำการสื่อสารที่มาจากความหวังไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของคุณ
- นำสิ่งต่างๆ ไปปฏิบัติเพิ่มเติม ด้วยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบที่จะนำไปใช้กำหนดวิธีการเล่าเรื่องอันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของคุณ รวมถึงเลือกเรื่องราวที่จะเผยแพร่
- จัดให้มีกิจกรรม “การคาดการณ์อนาคต” (foresight sessions) ที่แสดงให้เห็นถึงทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต และช่วยสร้างวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของทางออกที่เป็นรูปธรรมและวิสัยทัศน์เชิงบวกสำหรับอนาคต
- จัดกิจกรรม “หาเหตุผลของคุณ” (Find your Why) อันเป็นการสำรวจค้นหาที่จะช่วยวางรากฐานเนื้อหาในวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กรคุณ กรอบแนวคิดที่ประสบความความสำเร็จต้องการการทดสอบและการทบทวนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการรับฟังกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพื่อจะได้เข้าใจความขัดแย้งภายในที่พวกเขามีต่อค่านิยมและประเด็นของคุณ ดังที่เอมี่ ไซมอน และ โรเบิร์ต เพอร์เรส ได้กล่าวไว้ (which few in the NGO world do better than Amy Simon and Robert Perez)
- ประการสุดท้ายคือ นำวิธีการเล่าเรื่องราวและกรอบของคุณไปดำเนินการให้เกิดผล พร้อมทั้งนำเสนอให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ โดยการใช้เครื่องมือแผนภูมิการเล่าเรื่องและการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเล่าเรื่องของแดนซิ่ง ฟอกซ์ (Dancing Fox’s story mapping tool and storytelling workshops).
เครื่องมือและเอกสารสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม
การกำหนดกรอบ:
- The Narrative Initiative’s Toward New Gravity paper is a perfect short introduction to framing and narratives.
- George Lakoff, Don’t Think of an Elephant and The Political Mind.
- Anat Shenker-Osorio, Don’t Buy It and messaging guides on: Human Rights and Migration
การอธิบายแบบใหม่:
- New Economics Foundation & PIRC, Framing the Economy: How to win the case for a better system.
- ILGA Europe & PIRC, Framing Equality Toolkit
- Center for Community Change, Messaging this Moment: A Handbook for Progressive Communicator
- The Eu Agency for Fundemental Rights' 10 keys to effectively communicating human rights
- ICPA, 12 Keys to reframing the migration debate
ค่านิยมและความสนใจที่แท้จริงเพื่อมุมมองที่ดีขึ้นต่อธรรมชาติของเรา:
- Jonathan Haidt, The Righteous Mind.
- Common Cause Foundation, Where now for the environment movement? Weathercocks and signposts ten years on.
- Hope not Hate, Fear, Hope and Loss: Understanding the Drivers of Hope and Hate.
การยอมรับความล้มเหลวตนเองของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน:
- Kathryn Sikkink, Evidence for Hope: Making Human Rights Work in the 21st Century
การสร้างสังคมที่ให้ความสำคัญต่อค่านิยม:
- Hahrie Hahn, How Organizations Develop Activists: Civic Associations and Leadership in the 21st Century
การมองหาวิสัยทัศน์ขององค์กรคุณ:
- Simon Sinek, Find your why.
การตลาดทางบวก:
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจ:
- Amy Simon and Robert Pereez, Human Behavior, Strategic Opinion Research and the Audacious Pursuit of Social Change: A Strategy Guide for Change-Makers